6.2.60

ວິທີລ້ຽງກຸ້ງກ້າມແດງ

วิธีการ เลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือ กุ้งล๊อบสเตอร์ เลี้ยงง่าย รายได้ดี - วิธีการ เลี้ยงกุ้งล๊อบสเตอร์ ในบ่อปูน หรือนาข้า









กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งล๊อบสเตอร์น้ำจืด เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่น่าจับตามอง และน่าลงทุนและน่าศึกษาเพื่อนำมาเพาะเลี้ยงน่ะครับ สามารถเลี้ยงในบ้านก็ได้ เลี้ยงง่ายในตู้ปลาในกะละมังหรือบ่อปูน เลี้ยงไว้เพื่อดูเล่น เลี้ยงไปเลี้ยงมาอาจจะกลายเป็นอาชีพเสริมหรืออาจจะนำไปสู่รายได้หลักเลยก็อาจเป็นไปได้น่ะครับ ติดตามเรื่องราวดีๆ และเทคนิคความรู้ต่างๆด้านการเกษตรได้ที่นี่ Baannoi.com
กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งล๊อบสเตอร์ปัจจุบันในประเทศไทยนิยมนำมารับประทานกันเพิ่มมากขึ้น เพราะว่ารสชาติของกุ้งก้ามแดงจะมีรสชาติที่หวานมากกว่ากุ้งก้ามกราม แต่ก่อนจะนิยมเลี้ยงกันเพื่อความสวยงามแต่เดี๋ยวนี้กลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่นิยมเลี้ยงกันมากในชาวเกษตรกรน่ะครับ เหตุผลเพราะเลี้ยงง่ายสามารถเพาะเลี้ยงในบ่อปูน อ่างน้ำกะละมังได้หมด หรือแม้กระทั่งในนาข้าวก็สามารถเลี้ยงได้เช่นกันครับ 
การเลี้ยงกุ้งก้ามแดงเมื่อก่อนยังไม่เป็นที่นิยมหรือรู้จักกันในท้องตลาดบ้านเรามากนัก ส่วนใหญ่ที่เพาะพันธ์ุเป็นฟาร์มใหญ่ๆก็จะเน้นส่งออกไปยังต่างประเทศเสียมากกว่า แต่ปัจจุบันนี้โครงการหลวงดอยอินทนนท์ อำเภอภจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกร เพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดงเพื่อการบริโภค จึงมีการเพาะเลี้ยงกันมากขึ้นในกลุ่มเกษตรกร และราคาของกุ้งก้ามแดงก็ถือว่าได้ราคาค่อนข้างสูงตามขนาดตัวด้วยครับ
ที่สำคัญแม่บ้านหรือคนทั่วไปที่ต้องการเลี้ยงไว้ภายในบริเวณบ้าน ก็สามารถเพาะเลี้ยงได้เช่นกันครับ เพราะว่ากุ้งก้ามแดงหรือล๊อบสเตอร์น้ำจืดนี้เลี้ยงง่ายโตเร็ว ถ้าเลี้ยงในบ้านก็แค่มีกะละมัง หรืออ่างเลี้ยงปลาเก่าหรือตู้ปลาก็สามารถเพาะเลี้ยงเค้าได้แล้วครับ หรือตามภาพคือเลี้ยงใส่กล่องพลาสติกเก็บของนั่นเองครับแค่มีอ๊อกซิเจนให้เค้าและก็ตัดท่อหรือใส่วัสดุเพื่อให้เค้าได้มีที่หลบตามสัญชาตญาณการเอาตัวรอดของเค้าเองครับ

สำหรับราคาของกุ้งก้ามแดงที่เราจะนำมาเพาะเลี้ยง ก็มีหลายราคา ตามขนาดตัวของเค้าน่ะครับ 

  • กุ้งก้ามแดงสำหรับนำมาเป็นพ่อแม่พันธ์ุ ขนาด 4-5 นิ้ว ถ้าซื้อตามฟาร์มก็จะราคาอยู่ที่ 1200-2000 บาท จะจำหน่ายแบบเป็นชุดให้นำมาเพาะเลี้ยงก็คือ แบบตัวผู้ 1 ตัวเมีย 2 ราคาจะประมาณ 1200-1500 บาท และแบบตัวผู้ 2 ตัวเมีย 5 จะจำหน่ายราคาประมาณ 2000 บาทครับ

  • ลูกกุ้งล๊อบสเตอร์ขนาดไซส์ลงเดิน หรือประมาณ 45 วันอยู่ที่ราคาประมาณ ตัวละ 5-6 บาท ซึ่งขนาดนี้ก็สามารถนำมาเพาะเลี้ยงได้แล้วครับ

กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งล๊อบสเตอร์น้ำจืดขนาด 1นิ้วครึ่งหรือ 2 นิ้ว เกษตรกรจะเลือกขนาดไซส์นี้เพื่อนำไปเพาะเลี้ยงครับ

ราคาขายตามท้องตลาดจะอยู่ที่ กิโลกรัมละ 1200-1500 บาทเชียวครับ กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งล๊อบสเตอร์ ถ้าเลี้ยงในบ่อปูนจะมีลำตัวที่มีสีใสหรือเป็นสีฟ้าเพราะไม่มีตะไคร้น้ำหรือดินเกาะ แต่ถ้าเลี้ยงในบ่อดินหรือในทุ่งนาสีของกุ้งจะค่อนข้างออกไปทางสีดำหรือน้ำเงินเข้มครับ แต่ชาวบ้านที่เลี้ยงตามบ่อดินทั่วไปนิยมใช้แปรงสีฟันทาน้ำเกลือไปขัดที่ตัวกุ้งเพื่อให้ได้สีที่สวยงามไม่ดำก็มีเช่นกันครับ
การเลี้ยงกุ้งจากไซส์ลงเดินจะเลี้ยงในบ่อปูนหรือในบ่อผ้าใบ จนได้ถึงขนาด 1 นิ้วคือกุ้งเริ่มแข็งแรงก็สามารถย้ายไปยังสถานที่จะเลี้ยงเช่นบ่อปูนบ่อผ้าใหม่ได้เลยครับ กุ้งล๊อบสเตอร์อยู่ง่ายเลี้ยงง่ายอยู่ได้ทุกที่ที่มีน้ำเราสามารถเลี้ยงไว้ในภาชนะเหลือใช้ภายในบ้านได้ทั้งนั้น แต่ต้องทำที่ให้เค้าได้หลบภัยได้ด้วย ถ้าเลี้ยงด้วยกันหลายตัวเมื่อเวลาที่กุ้งลอกคราบเค้าจะกินกันเอง เพราะฉนั้นควรมีท่อไว้ให้เค้าได้หลบภัยของตัวเค้าเองด้วยครับ
อาหารของกุ้งก้ามแดง กุ้งก้ามแดงเค้ากินง่ายครับกินได้ทั้งพืชผัก หรืออาหารสำเร็จรูปแบบจมน้ำก็สามารถกินได้ การเลี้ยงกุ้งก้ามแดงเพื่อสร้างรายได้ กุ้งก้ามได้สามารถเลี้ยงในบ่อปูนหรือถังพลาสติก หรือหากมีบ่อดินที่เคยเลี้ยงปลาเลี้ยงกบมาก่อนแล้วอยากหันมาเลี้ยงกุ้งล๊อบสเตอร์ก็น่าสนน่ะครับ เพราะเค้าสามารถอยู่ได้แบบสบายๆ และโตเร็วมากด้วยถ้าเลี้ยงในนาข้าว นี่แทบจะไม่ต้องให้อาหารเค้าเลย เพราะว่าเค้าสามารถหากินเศษหญ้าหรือเปลือกข้าวที่เปื่อยหรือตะไคร่น้ำหรือแม้กระทั่งหอยหรือไส้เดือนที่มีอยู่ตามธรรมชาติครับ  

ความแตกต่างในการเลี้ยงกุ้งล๊อบสเตอร์ในบ่อดินหรือนาข้าว และการเลี้ยงในบ่อปูนก็จะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไปน่ะครับ 

การเลี้ยงในบ่อดิน หรือนาข้าว มีข้อดีและข้อเสียน่ะครับ

  • ข้อดี ก็คือการเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติ ให้เค้าหากินเองตามธรรมชาติจึงไม่ค่อยจะเปลืองเรื่องอาหารเหมือนกับการเลี้ยงในบ่อดินหรือแทบจะไม่ได้ให้อาหารเลยถ้าในเลี้ยงในนาข้าว ไม่ต้องใช้อ๊อกซิเจน เป็นการใช้ต้นทุนต่ำในการเลี้ยงกุ้งก้ามแดงจึงเป็นอีกทางเลือกในการเลี้ยงกุ้งก้ามแดงในนาข้าวหรือบ่อดินน่ะครับ
  • การเจริญเติบโตจะค่อนข้างเจริญเติบโตได้ดีกว่าการเลี้ยงในบ่อปูน เพราะกุ้งก้ามแดงสามารถหาอาหารกินได้ทั้งวัน เพราะในบ่อดินหรือนาข้าว มีอาหารของเค้ามากมายเช่น สาหร่าย,หอยหรือไรแดงและไส้เดือนที่มีอยู่โดยธรรมชาตินั่นเองครับ 
  • ข้อเสียในการเลี้ยงกุ้งก้ามแดงในบ่อดิน หรือนาข้าว ก็คือโรคที่ติดมากับกุ้งเพราะเราไม่สามารถควบคุมโรคที่มาจากอาหารโดยธรรมชาติที่เค้ากินเข้าไปได้ กุ้งในบ่อดินส่วนใหญ่จะมีโอกาสเป็นโรคหางพอก,โรคสนิม มากกว่ากุ้งที่เลี้ยงในบ่อดิน และตัวกุ้งจะค่อนข้างจะมีสีดำ ซึงเกิดจากตะไคร่น้ำที่เกาะลำตัวกุ้งนั่นเองครับ แต่ผู้จำหน่ายบางรายก็มีวิธีแก้ไขโดยการนำกุ้งมาขัดมาล้างโดยการใช้แปรงสีฟันมาขัดที่ตัวกุ้งก่อนที่จะนำไปจำหน่ายครับ กุ้งจะได้ดูน่ากินหน่อย


การเลี้ยงในบ่อปูนหรือ ในบ่อผ้าใบ มาดูข้อดีและข้อเสียกันน่ะครับ

  • อันดับแรกก็คงจะเป็นในด้านการลงทุน ลงทุนมากกว่าบ่อดินหรือในนาข้าวแน่นอนครับ เพราะต้องมีการเตรียมบ่อ และต้องมีบ่อพัก ต้องมีอ๊อกซิเจน
  • บ่อปูนที่ทำขึ้นเป็นสี่เหลี่ยม ที่นิยมทำการเลี้ยงก็จะไม่ทำขนาดใหญ่มากนัก บ่อปูนกลมก็สามารถเลี้ยงได้ เพราะจะสะดวกต่อการเปลี่ยนถ่ายน้ำ หรือการทำความสะอาดบ่อครับ 
  • การเลี้ยงในบ่อปูนต้องหาวัสดุมาไว้ในบ่อเพื่อให้กุ้งได้หลบ หรือแอบซ่อนตัวเพื่องดการกินกันเองของกุ้งก้ามแดงครับ ส่วนมากจะนิยมใส่ท่อพีวีซี ตัดเป็นท่อนๆใส่ลงไปในบ่อมากกว่าจำนวนกุ้งหนึ่งเท่าตัว เช่น มีกุ้ง 100 ตัว ก็ต้องมีท่อจำนวน 200 อันเป็นต้นครับผ้ายางเก่าหรืออะไรก็ได้ก็สามารถใส่ลงไปบ่อ กุ้งก้ามแดงจะไม่ชอบแสงมากนัก จึงจำเป็นที่ต้องหาผ้าใบมาคลุมบ่อ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้กุ้งก้ามแดงได้กินอาหารได้ทั้งวัน เพื่อความเจริญเติบโตครับ
  • ข้อดีในการเลี้ยงกุ้งก้ามแดงในบ่อปูนเราจะดูแลง่าย เมื่อสังเกตุเห็นว่ากุ้งลอกคราบ ก็สามารถแยกกุ้งออกมาได้เพื่อลดการสูญเสียหรือการกินกันเองได้ครับ 
  • กุ้งก้ามแดงเมื่อมีขนาด 3-4 นิ้วควรมีการแยกเพศแยกบ่อเพื่อเป็นการเร่งการเจริญเติบโต เพราะถ้าไม่ทำการแยกบ่อแล้ว กุ้งจะไม่เจริญอาหารเพราะจะจ้องแต่จะผสมพันธ์ุครับ
  • ข้อดีอีกอย่างของการเลี้ยงในบ่อปูนคือ จะมีสีใสสวยและสะอาดไม่ไม่ตะไคร่น้ำเกาะเหมือนกุ้งก้ามแดงที่เลี้ยงในบ่อดินครับ


  • ลักษณะเด่นของกุ้งก้ามแดง คือมีเลือดสีฟ้าเช่นเดียวกับล๊อบสเตอร์น้ำเค็ม จึงได้มีชื่อว่า ล๊อบสเตอร์น้ำจืดนั่นเองครับ กุ้งก้ามแดงมักหากินตามพื้นดินและว่ายน้ำไม่เป็นน่ะครับ 
กุ้งล๊อบสเตอร์น้ำจืดจะมีเลือดสีน้ำเงินทำให้ลำตัวเค้าใสและมีสีน้ำเงินภาพนี้เลี้ยงในตู้ปลาเพื่อความสวยงามครับ

วิธีด้วยเพศของกุ้งก้ามแดง ก็มีวิธีสังเกตุคือ ดูจากก้ามและอวัยวะเพศที่หน้าอกน่ะครับ

  • ตัวผู้ จะมีก้ามที่มีสีแดง เหมือนกับชื่อของเค้าเลยน่ะครับ ตรงก้ามจะเป็นเหมือนวุ้น และสีของก้ามจะแดงมากหรือแดงน้อยจะขึ้นอยู่กับสภาพน้ำที่เลี้ยงเค้าครับ ถ้าเลี้ยงตามแหล่งน้ำธรรมชาติ วุ้นตรงก้ามจะเป็นสีแดงเข้มเลยน่ะครับ แต่ถ้าเลี้ยงตามบ่อดินแล้วใช้น้ำปะปาหรือน้ำบาดาลก็จะสีไม่ออกแดงมากจะเป็นสีประมาณสีน้ำตาลอ่อนๆครับ การดูเพศของตัวผู้ ดูได้อีกอย่างคือการหงายท้องดูตรงขาคู่สุดท้ายของเค้า จะมีต่อมแหลมๆเล็กๆสองข้างครับ


ตัวผู้จะมีวุ้นตรงก้ามเป็นสีแดงเข้มถ้าเลี้ยงตามแหล่งน้ำธรรมชาติน่ะครับ ถ้าเลี้ยงน้ำบาดาลสีก็จะประมาณนี้ครับ



  • ตัวเมีย กุ้งก้ามแดงตัวเมีย จะไม่มีก้ามหรือวุ้นตรงก้ามเหมือนตัวผู้ครับ และตรงท้องก็จะไม่มีต่อมแหลมๆตรงขาคู่สุดท้ายครับ


กุ้งก้ามแดงตัวเมียจะอุ้มหรือห่อไข่ไว้ประมาณ 50 วันหรือ 2 เดือนถึงจะค่อยๆคลายออกเมือ่ไข่กุ้งแก่เต็มที่

อายุที่พร้อมในการผสมพันธ์ุของพ่อแม่พันธ์ุกุ้งอยู่ที่ อายุได้ประมาณ 8 เดือน ก็สามารถนำพ่อพันธ์ุและแม่พันธ์ุมารวมกัน อัตราส่วนอยู่ที่ ตัวผู้ 1 ตัวต่อตัวเมีย 2-3 ตัว หรือ 1ต่อ1 ก็ได้ครับ 
ระยะเวลาประมาณ 2 เดือนที่กุ้งผสมพันธ์ุแล้ว ตัวเมียจะทำการอุ้มไข่หรือห่อไข่ไว้ วิธีการดูแลคือช่วงนี้ให้สังเกตุว่าไข่ของกุ้งตัวไหนแก่หรือยังถ้าหากว่าไข่อ่อนอยุ่ไม่ต้องไปยุ่งกับแม่พันธ์ุตัวนั้นเด็ดขาด เพราะเค้าจะตกใจและดีดไข่ทิ้งหมดเลยครับ ไข่แก่สังเกตุได้โดยตรงที่เค้าอุ้มไข่ไว้จะแผ่ออก และเริ่มเห็นหนวดและตาลูกกุ้ง ก็ให้ทำการแยกตัวแม่พันธ์ออกมากไว้บ่อใหม่ต่างหากเพื่อเลี้ยงลูกกุ้งรุ่นต่อไปครับ เพาะเลี้ยงให้ได้ขนาดตัวได้ 2 เซนติเมตรก็สามารถจำหน่ายได้แล้วครับ หรือจะเลี้ยงจนให้ได้ขนาด 4 นิ้วก็ได้น่ะครับราคาจะได้เพิ่มขึ้นมาอีกเท่าตัวครับ
อาชีพเลี้ยงกุ้งก้ามแดงก็เป็นที่น่าสนใจทีเดียวน่ะครับ สำหรับท่านที่มีบ่อเลี้ยงปลาเลี้ยงกบหรือตู้ปลาที่ไม่ใช้ ถ้าสนใจก็น่าจะซื้อหาเพื่อนำมาเลี้ยงไม่แน่น่ะครับนอกจากจะเลี้ยงไว้ดูเล่นเพื่อความสวยงามแล้ว อาจจะสร้างรายได้เสริมหรือ ถ้าทำไปได้ดีๆอาจจะกลายเป็นรายได้หลักให้กับผู้เลี้ยงเลยก็ได้น่ะครับ ผู้เขียนหวังว่าบทความนี้คงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับผู้ที่เข้ามาอ่านเว็บน่ะครับ ติดตามข้อมูลดีๆและเทคนิคความรู้ต่างๆด้านการเกษต

27.1.60

การเลี้ยง กุ้งเครฟิช Crayfish



การเลี้ยงกุ้งเครฟิช Crayfish มีหลักการเลี้ยงที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งก็คือดัดแปลงมาจากอุปนิสัยและการอยู่อาศัยของมันเองคือ 1.โดยธรรมชาติ กุ้งทุกชนิดชอบออกหากินในเวลาคืน ไม่ชอบแสง ดังนั้นกลางวันอาจจะนอนหรือหลบทั้งวัน จึงต้องการที่หลบซ่อนและปิดบังจุดที่กุ้งจะปีนหลบหนีได้ ยกเว้นกุ้งที่ได้รับการเพาะเลี้ยงในบ้านเราจะคุ้นเคยกับการเลี้ยงและฝึก อาหาร 2.มีก้ามเป็นอาวุธไว้ต่อสู้ป้องกันตัวเอง กุ้งตัวผู้จะมีขนาดของก้ามที่ใหญ่โตสง่างาม สีสรรสวยงามและแข็งแรงกว่ากุ้งตัวเมีย 3. กุ้งอ่อนแอที่สุดเวลาลอกคราบ มักจะถูกรุมทำร้ายหรือจับกิน ดังนั้นอาหารต้องพอเพียง ตู้ต้องกว้างเพียงพอและมีที่หลบซ่อนที่ปลอดภัย 4.กุ้งแยกกันกินแยกกันอยู่หรืออาจจับคู่ในระยะสั้นๆ จึงไม่ควรเลี้ยงปนกันหลายตัวในที่แคบๆ ส่วนมากจะกุ้งจะไม่จำว่าเป็นคู่ของมัน ถ้าหิวหรือลอกคราบอาจทำร้ายกันได้เสมอ..

อาหารของกุ้งเครฟิช

 กุ้งเครฟิช กินอะไร.. กุ้งเครฟิช ถือเป็นสัตว์ที่สามารถกินอาหารได้เกือบทุกอย่าง (Omnivore) แต่ในธรรมชาติมันจะถือว่าเป็นสัตว์กินซากครับ คือผัก ผลไม้ รากไม้ ใบไม้ และเศษหรือซากพืชซากสัตว์ต่างๆ เป็นหลัก มันไม่ใช่นักล่า ที่จะคอยจ้องจับปลาหรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เป็นอาหาร


บางคนอาจสงสัยว่า หากกุ้งเครฟิชเป็นสัตว์กินซาก อย่างนั้นแสดงว่ามันจะต้องสกปรก ตัวเต็มไปด้วยเชื้อโรค จะต้องหากินอยู่ในน้ำเน่าๆ ที่มีซากพืชซากสัตว์มากมายอย่างนั้นหรือ คำตอบคือผิดอย่างมากครับ กุ้งเครฟิช อยู่น้ำเน่าไม่ได้ครับ ตายอย่างเดียว

ผู้เลี้ยงสามารถให้ ข้าวโพด มันฝรั่ง ถั่วลันเตา ฟักทอง แอปเปิ้ลได้ พรรณไม้น้ำที่ใช้ตกแต่งตู้อาจโดนรื้อเป็นของว่าง ผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศแนะนำให้ผู้เลี้ยงให้ “ใบโอ๊ค” (ใบหูกวาง) ตามโอกาส เพราะเชื่อว่าใบโอ๊คสามารถป้องกันรักษาโรคตามธรรมชาติของกุ้งเครฟิชได้ และนอกจากธัญญาหารที่ได้กล่าวไป ก็อาจให้สิ่งมีชีวิตน้อยๆ อย่างเช่น ไรแดง หนอนแดง ไส้เดือนแดง เป็นอาหารก็ได้ครับ แต่ระวังเรื่องความสะอาดด้วยก็แล้วกัน
นอกจากอาหารประเภทผักหรือไรแดงตัวน้อยๆ แล้ว อาจจะให้อาหารประเภทเนื้อสัตว์ร่วมด้วยเช่น เนื้อ ไก่ เนื้อหมู เนื้อปลา เนื้อกุ้งทะเลหรือกุ้งฝอยหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แต่ถ้าจะให้ดี ก็ควรปรุงให้สุกซักหน่อยนะครับ เพื่อกันเชื้อโรคต่างๆ ถ้าให้สะดวกขึ้นก็เป็นอาหารเม็ดสำเร็จรูปชนิดจมสูตรต่างๆ
สรุปได้ว่า ไม่ว่าจะให้อาหารประเภทไหนก็กินได้ทั้งนั้น สำหรับความถี่ในการให้อาหารไม่ต้องบ่อยนัก ให้น้อยๆ แต่กินหมด ดีกว่าให้เยอะแล้วเศษอาหารตกค้าง ทำให้น้ำเน่าเสีย

บ่อพัก กุ้งเครฟิช Crayfish บลูอัลเลนี่ บางส่วนของฟาร์มเพื่อเตรียมส่งให้ลูกค้าต่อไป

 รูปบ่อพักลูกๆ กุ้งเครฟิช Crayfish บลูอัลเลนี่ บางส่วนของฟาร์มเพื่อเตรียมส่งให้ลูกค้าต่อไป

กุ้งเครฟิช Crayfish กุ้งเครฟิช กำลังเป็นที่นิยมมากในขณะนี้ สำหรับผู้ชอบเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่นปลา และยังสามารถช่วยกำจัดสิ่งปฎิกูลที่ก้นตู้ได้ด้วย กุ้งเครฟิช เติบโตและได้รับความนิยมในหมู่คนทุกเพศทุกวัย ด้วยความมีรูปทรงเอกลักษณ์ เลี้ยงดูง่าย มีความแข็งแรง อดทนต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมต่างๆ สีสรรสวยงามมาก รูปแบบการผสมพันธุ์ การลอกคราบเพื่อการเติบโต ยิ่งเลี้ยงยิ่งสนุก มาลองเลี้ยงกันดูครับ รับรองว่าจะติดใจในมนต์เสน่ห์ของกุ้งสวยงามพันธุ์นี้ กุ้งเครฟิช
กุ้งเครฟิช – ตู้เลี้ยงและอ่างเลี้ยงกุ้งเครฟิช crayfish 1.เราสามารถเลี้ยงกุ้งเครฟิช ในภาชนะใดๆก็ได้ ที่มีการถ่ายเทน้ำที่ดี ไม่ร้อนเกินไป อุณหภูมิน้ำ ประมาณ 23 -28 องศา อาจจะเป็นครึ่งบกครึ่งน้ำก็ได้ น้ำครึ่งตู้ น้ำเต็มตู้ก็ได้ หากจะเลี้ยงหลายๆตัวแต่ต้องกว้างขวางเพียงพอ กุ้งใหญ่ขนาด 3-4 นิ้ว 1 ตัว ใช้พื้นที่อย่างน้อย 1 ฟุต 2.ถ้าจะเลี้ยงหลายตัวควรเลือกเลี้ยงกุ้ง สายเดียวกัน ไซซ์ไล่เลียกัน เพื่อให้มันสามารถปกป้องตัวเองได้ มิเช่นนั้นกุ้งตัวเล็ก มักจะถูกรังแกและมีโอกาสที่จะถูกจับกิน 3.ที่หลบซ่อนใช้ขอนไม้ กระถางดินเผา กระถางต้นไม้แตกๆ อุปกรณ์ที่เจาะเป็นโพรง หรือท่อพีวีซีตัด เป็นท่อนๆให้กุ้งหลบอาศัยในเวลากลางวัน กุ้งใหญ่ 4.ปิดฝาหรือจุดที่กุ้งจะปีนหนีได้

กุ้งเครฟิช Crayfish

กุ้งเครฟิช กำลังเป็นที่นิยมมากในขณะนี้ สำหรับผู้ชอบเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่นปลา และยังสามารถช่วยกำจัดสิ่งปฎิกูลที่ก้นตู้ได้ด้วย

กุ้งเครฟิช เติบโตและได้รับความนิยมในหมู่คนทุกเพศทุกวัย ด้วยความมีรูปทรงเอกลักษณ์ เลี้ยงดูง่าย มีความแข็งแรง อดทนต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมต่างๆ สีสรรสวยงามมาก รูปแบบการผสมพันธุ์ การลอกคราบเพื่อการเติบโต ยิ่งเลี้ยงยิ่งสนุก มาลองเลี้ยงกันดูครับ รับรองว่าจะติดใจในมนต์เสน่ห์ของกุ้งสวยงามพันธุ์นี้ กุ้งเครฟิช

กุ้งเครฟิช  Crayfish เป็นกุ้งน้ำจืดจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างโดยรวมลำตัวใหญ่ เปลือกหนา ก้ามใหญ่แลดูแข็งแรง มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ, ทวีปยุโรป, โอเชียเนียและบริเวณใกล้เคียง เช่น อีเรียนจายา และเอเชียตะวันออก ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานเครฟิชไปแล้วกว่า 500 ชนิด ซึ่งกว่าครึ่งนั้นเป็นเครฟิชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ แต่ก็ยังมีอีกหลายร้อยชนิดที่ยังไม่ได้รับการอนุกรมวิธาน อีกทั้งหลายชนิดยังมีความหลากหลายทางสีสันมากอีกด้วย

โครงสร้างของร่างกาย

ร่างกายเครฟิชนั้นแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนกลาง หรือ ทอแร็ก คือส่วนที่มีขาใช้สำหรับเดิน ส่วนสุดท้ายคือ ส่วนท้องซึ่งเป็นส่วนที่มีเนื้อเยอะมากที่สุด ซึ่งส่วนหัวกับส่วนกลางนั้นเชื่อมติดรวมกันเป็นชิ้นเดียว เรียกว่า เซฟาโลทอแร็ก (ข้อมูลบางแหล่งอาจระบุว่าเครฟิชนั้นมีลำตัวเพียง 2 ส่วนก็ได้) ทั้งตัวนั้นจะถูกหุ้มด้วยเปลือก หรือ คาราเพซ ซึ่งทำหน้าที่ 2 อย่าง คือ ใช้สำหรับปกป้องลำตัว และเป็นที่ตั้งของอวัยวะหายใจ คือ เหงือกที่มีลักษณะคล้ายขนนกอยู่ใกล้บริเวณปาก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในระบบหายใจ คือเป็นทางผ่างของน้ำเพื่อให้น้ำไหลผ่านช่องเหงือกนั่นเอง
ในส่วนของขานั้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ขาเดิน ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 5 คู่ โดยคู่แรกนั้นถูกพัฒนาจนกลายเป็นก้าม ใช้สำหรับหยิบจับอาหารและใช้ต่อสู้ และ ขาว่ายน้ำ จะมีลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ มีไว้สำหรับโบกน้ำที่มีออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายเพื่อหายใจ รวมทั้งโบกพัดแพลงก์ตอนเข้าหาตัวเพื่อกินเป็นอาหารอีก ในเครฟิชตัวเมีย ขาว่ายน้ำยังใช้เป็นที่อุ้มไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิอีกแล้วต่างหาก

การแบ่งสายพันธุ์

กุ้งเครฟิช นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ใหญ่ ๆ คือ Astacoidea ซึ่งเป็นวงศ์ใหญ่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป สามารถแบ่งเป็นวงศ์ย่อยได้อีก 2 วงศ์คือ Astacidae และ Cambaridae โดยเครฟิชชนิดที่เป็นที่รู้จักกันดีในวงศ์นี้คือProcambarus clarkii โดยรวมแล้วเครฟิชในวงศ์นี้ มีรูปร่างใหญ่ ไม่มีกรี มีลักษณะเด่นคือ ก้ามมีหนาม ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร และวงศ์ใหญ่ Parastacoidea ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคโอเชียเนียและอีเรียน จายา เครฟิชในวงศ์นี้ก้ามจะไม่มีหนาม และลักษณะของก้ามจะป่องออกต่างไปจากวงศ์ Astacoidea แต่มีที่หนีบสั้นและเล็กกว่า ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 30-40 เซนติเมตร ชนิดของเครฟิชในวงศ์นี้ที่เป็นที่รู้จัก คือ Cherax quadricarinatus

การแบ่งเพศและวงจรชีวิต

เครฟิชนั้นในธรรมชาติจะอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำที่มีลักษณะน้ำใสสะอาด มีออกซิเจนสูง โดยจะซ่อนตัวอยู่ตามขอนไม้หรือหินใต้น้ำ เป็นสัตว์ที่กินอาหารได้หลากหลายทั้งพืชและสัตว์ รวมทั้งซากพืชซากสัตว์ด้วย ออกหากินในเวลากลางคืน โดยจะไม่หากินทุกวัน แต่จะเว้นระยะไปราว 1-2 วัน จึงออกหากินอีกครั้ง มีอาณาเขตของตัวเองประมาณ 40 เซนติเมตร
เครฟิชในวัยเล็กจะมีระยะการลอกคราบบ่อยกว่าตัวที่โตแล้ว โดยจะมีอัตราเฉลี่ยอยู่ที่หนึ่งครั้งต่อหนึ่งเดือน เมื่ออายุได้ 1 ปี การลอกคราบจะเหลือเพียงปีละครั้งเท่านั้น การลอกคราบแต่ละครั้งใช้เวลานานราว 2-3 วัน กว่าเปลือกใหม่ที่ได้นั้นจะแข็งแรงเท่าเดิม ในบางครั้งอาจมีพฤติกรรมกินเปลือกตัวเองที่ลอกออกหรือของตัวอื่นก็ได้ เพราะร่างกายของเครฟิชในช่วงลอกคราบต้องการแคลเซี่ยมเพื่อสร้างเปลือกใหม่ให้แข็งแรง

การจำแนกเพศนั้น

ในวงศ์ Astacoidea เครฟิชตัวผู้จะมีอวัยวะคล้ายตะขออยู่บริเวณขาเดินคู่ที่ 2 และ 3 ใช้สำหรับเกาะเกี่ยวตัวเมียในการผสมพันธุ์ และจะมีอวัยวะสืบพันธุ์ที่เรียกว่า ปาปิลเล บริเวณโคนขาคู่สุดท้าย ส่วนตัวเมียจะมีอวัยวะสืบพันธุ์ที่เรียกว่า แอนนูลลัส เวนทราลิส ลักษณะเป็นแผ่นวงรีสีขาว ขนาดประมาณ 1-2 มิลลิเมตร บริเวณขาเดินคู่ที่ 3 นอกจากนี้แล้วในตัวผู้ขาว่ายน้ำคู่แรกและคู่ที่ 2 จะถูกพัฒนาเป็นแขนเล็ก ๆ เรียกว่า เพทาสมา สำหรับผ่านน้ำเชื้อไปยังตัวเมียอีกด้วย
แต่ร่างกายโดยรวมแล้ว เครฟิชตัวผู้จะใหญ่กว่าตัวเมียอย่างเห็นได้ชัดเจน รวมทั้งก้ามที่ใหญ่และแข็งแรงกว่า
ส่วนในวงศ์ Parastacoidea นั้น ตัวผู้จะมีอวัยวะเป็นรูปวงรีบริเวณโคนขาคู่ที่ 3 ซึ่งตัวเมียไม่มี และอวัยวะส่วนนี้จะแตกต่างไปจากในวงศ์ Astacoidea

การผสมพันธุ์นั้น

เครฟิชตัวผู้จะประกบตัวเมียจากด้านหลัง และพลิกท้องตัวเมียให้หงายแล้วตัวผู้จะเข้าประกบโดยใช้อวัยวะที่คล้ายตะขอนั้นจับตัวเมียในลักษณะท้องชนท้อง หันหัวไปในทางเดียวกัน ตัวผู้จะส่งผ่านถุงน้ำเชื้อไปปะติดไว้กับท้องของตัวเมีย ซึ่งพฤติกรรมนี้เครฟิชในวงศ์ Astacoidea จะใช้เวลานานราว 10 นาที ขณะที่ในสกุล Cherax ในวงศ์ Parastacidae กินเวลาเพียง 1-2 นาที เท่านั้น หลังจากนั้นเมื่อไข่ได้รับการปฏิสนธิจากน้ำเชื้อแล้ว ไข่จะฟักเป็นตัวในเวลาราว 3-4 สัปดาห์ โดยตัวเมียจะอุ้มไข่ไว้ในช่องท้อง ไข่มีลักษณะวงกลมสีดำคล้ายเมล็ดพริกไทยดำ ในการผสมพันธุ์แต่ละครั้งอาจได้ลูกเครฟิชมากถึง 300 ตัว ซึ่งเครฟิชในวัยเล็กจะยังอาศัยอยู่กับแม่ โดยกินเศษอาหารที่แม่กินเหลือ เมื่อโตขึ้นจึงค่อยแยกจากไป

ความนิยมในการเลี้ยงกุ้งเครฟิช Crayfish

การนิยมนำมาเลี้ยงในตู้ปลาเป็นสัตว์น้ำสวยงาม ทั้งวงศ์ Astacoidea และวงศ์ Parastacoidea โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนิด Procambarus clarkii ที่มีรูปร่างดูบึกบึน แข็งแกร่ง มีการพัฒนาสายพันธุ์จนมีสีสันที่หลากหลาย จากเดิมที่สีตามธรรมชาติ คือ สีแดง กลายมามีสีที่หลากหลาย เช่น สีฟ้า, สีน้ำเงิน, สีน้ำเงินเข้ม, สีขาว หรือ สีส้มและ สีแดงเข้ม เป็นต้น ซึ่งสำหรับในประเทศไทย เครฟิชชนิดนี้มีการเลี้ยงกันมานานแล้วไม่ต่ำกว่า 20 ปี ในชื่อของ “กุ้งแดง” หรือ “กุ้งญี่ปุ่น” สำหรับในตัวที่มีสีสันหลากหลายออกไปตามที่ได้กล่าวมา ก็เรียกชื่อต่าง ๆ กันไปตามสี เช่น “ไบร์ออเรนจ์”, “อิเล็คทริคบลู”, “กุ้งฟ้า” หรือ “สโนว์ไวท์” เป็นต้น
สำหรับในวงศ์ Parastacoidea สายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงกันก็ได้แก่ Cherax quadricarinatus และ C. tenuimanus เพราะมีสีสันที่หลากหลายในตัวเดียวกัน ทั้งสีฟ้า, สีน้ำตาลอมเขียว หรือ สีน้ำตาลเข้ม เป็นต้น ในประเทศไทยนิยมเรียกว่า “กุ้งเรนโบว์” และชนิดC. sp. “zebra” ซึ่งเป็นชนิดที่ยังไม่ได้รับการตั้งชื่อสายพันธุ์ มีสีสันลำตัวที่สวยงาม มีสีดำเป็นเงาสลับกับลายปล้องสีขาวอมส้ม ก้ามสีขาว ในบางตัวอาจมีก้ามสีน้ำเงินหรือสีม่วงสวยงาม ซึ่งนิยมเรียกว่า “กุ้งม้าลาย” หรือ “กุ้งซีบร้า”

ชื่อสามัญ: กุ้งเครฟิช Crayfish

การเลี้ยงดู: ง่าย
ขนาด: ปกติถึง 3 นิ้ว (8 ซม.) หรือใหญ่กว่านั้น
อายุ: 2 – 5 ปี หรืออาจมากกว่านั้น
ค่า PH ที่เหมาะสม 6-8
อุณหภูมิ: 60 ° F – 80 ° F (16 ° C – 27 ° C)
ความกระด้างของน้ำ: 5 °ถึง 15 ° dH,
กำเนิด / ที่อยู่อาศัย: สายพันธุ์ที่แตกต่างกันทั่วโลก
อารมณ์ / พฤติกรรม: หวงถิ่น อาจมีการต่อสู้กับตัวอื่น หรือสัตว์ตัวอื่นได้
การเลี้ยงดู กุ้งเครฟิช Crayfish:
อาหาร : อาหารเม็ดทั่วไป หรือไม้น้ำเช่น ว่านหางกระรอก
เพศ: ดูยากที่จะตรวจสอบยกเว้นเมื่อตัวเมียติดไข่

14.12.59

ສິນຄ້າຂອງພວກເຮົາ

ກຸ້ງກ້າມແດງ


- ຂະໜາດ 1     ນິ້ວ     3,000 ກີບ
ຂະໜາດ 2     ນິ້ວ     5,000 ກີບ
ຂະໜາດ 3     ນິ້ວ     10,000 ກີບ
ຂະໜາດ 3,5  ນິ້ວ    20,000 ກີບ
ຂະໜາດ 4     ນິ້ວ     30,000 ກີບ
- ຂະໜາດ 4,5  ນິ້ວ     50,000 ກີບ 
- ຂະໜາດ 5    ນີ້ວ     60,000 ກີບ











ສະຖານທີ່ຕັ້ງຟາມກຸ້ງກ້າມແດງນຸນ້າ

ຟາມ ກຸ້ງກ້າມແດງ NOUNA Farm

ຕັ້ງຢູ່ບ້ານໃໝ່,  ກາຍບ້ານໜອງດາ ທາງໄປ ເມືອງສັງທອງ , ເມືອງສີໂຄດ , ນະຄອນຫຼວງວຽງຈັນ

ກຸ້ງກ້າມແດງ ນຸນ້າ ຟາມ

ກຸ້ງກ້າແດງ ນຸນ້າຟາມ







ຕັ້ງຢູ່ບ້ານໃໝ່ ທາງໄປເມືອງສັງທອງ, ເມືອງ ສີໂຄດ, ນະຄອນຫຼວງວຽງຈັນ                      

 020 55778588,  ວັອດແອັບ 02099944250 


ພວກເຮົາເພາະພັນ, ໃຫ້ຄຳແນະນຳວິທີລ້ຽງ ແລະ ຈັດຈະໜ່າຍກຸ່ງກ້າມແດງ , ກຸ້ງສາຍພີສາຍພີ: ບູອັດບັນນີ້, ແລດເຈແປ່ນ, ສະໂນ, ໄບອໍເລັນ












@ພໍ່ແມ່ພັນ ຄູ່ ຂະນາດ 10-12 cm ລາຄາ 100,000₭ - ພໍ່ແມ່ພັນ ຊຸດ 3 ແມ່ ຜູ້ 1 ລວມ 4 ໂຕ ລາຄາ 160,000 k- ພໍ່ແມ່ພັນ ຊຸດ 6 ແມ່ ຜູ້ 4 ລວມ 10 ໂຕ ລາຄາ 300,00 ₭@ຂະນາດ 3-5 cm ລາຄາ 5,000₭/ໂຕ; 100 ໂຕ 400.000 ₭@ຂະນາດ 6-8 cm ລາຄາ 7,000₭/ໂຕ; 100ໂຕ 600.000 k + ພວກເຮົາສາມາດໃຫ້ຄຳປຶກສາວິທີວຽງ ໄດ້ #whatsapp/Line/ໂທ :02055778588Facebook.com/kungnounafarm

ພວກເຮົາຍັງສາມາດໃຫ້ຄຳປຶກສາ ແນະນຳວິທີລ້ຽງໃຫ້ນຳອີກ



















Adsence